หลักการเขียนโครงการวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาโดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยหัวข้อการวิจัยที่จะต้องเขียนเสนอดังต่อไปนี้ (ทิศนาแขมมณี, 2527)
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในหัวข้อนี้เป็นการอธิบายถึงความเป็นมาและสาเหตุของปัญหาหรือความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเป็นอย่างไรและความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือทาวิจัยและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้การเขียนควรนาเสนอปัญหาอย่างกระชับและตรงประเด็นโดยแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวังให้เป็นการเขียนควรมีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
- วัตถุประสงค์การวิจัยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาให้เขียนเป็นข้อๆโดยมีหลักการเขียนดังนี้
1) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมุ่งพัฒนาหรือศึกษาอะไรซึ่งเป็นผลจากการดาเนินการไม่ใช่กระบวนการดาเนินการเช่น “เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์” แทนที่จะเขียนว่า“เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” เป็นต้น
2) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องสอดคล้องกับรูปแบบการวิจัยเช่นเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยว่า “เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” แต่ในแบบแผนการวิจัยเป็นเพียงการวัดผลผู้เรียนในด้านต่างๆหลังเรียนเท่านั้นซึ่งในลักษณะนี้ควรเขียนว่า“ศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน …” เท่านั้น
- สมมติฐานการวิจัยเป็นการคาดเดาคาตอบล่วงหน้าที่เป็นไปตามเกณฑ์ของการพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการซึ่งผู้วิจัยต้องอาศัยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเช่นในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นยึดหลักการเรียนแบบรอบรู้คือผู้เรียนต้องมีผลการเรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ทั้งสองด้านในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไปดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ80/80เป็นต้นหรือกำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนต้องสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.05ตามหลักการของการใช้สถิติภาคอ้างอิงเป็นต้นและการกำหนดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดีซึ่งหมายถึงระดับค่าเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 หรือระดับ B ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สากลซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นต้น
- กรอบแนวคิดในการวิจัยหมายถึงพื้นฐานทางทฤษฎีและหลักการที่ผู้วิจัยยึดถือและนำมาใช้ในการกำหนดลักษณะสำคัญของตัวแปรต้นและตัวแปรตามซึ่งนามาใช้เป็นแนวทางสาหรับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยกรอบแนวคิดในการวิจัยจะต้องสรุปให้เห็นแนวคิดหรือหลักการที่แฝงอยู่ในนวัตกรรมและลักษณะสำคัญของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนามาใช้เป็นตัวแปรจัดกระทาและการกำหนดลักษณะสำคัญที่สังเกตได้วัดได้ของตัวแปรตามเพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือการวัดผลการนาเสนอกรอบแนวคิดในการ
วิจัยผู้วิจัยจึงต้องสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปที่เป็นแนวคิดและหลักการสำคัญที่ใช้ในการดาเนินการวิจัยหากสรุปและนาเสนอเป็นแผนภาพได้ก็จะมีความชัดเจนแต่ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว
- ขอบเขตในการวิจัยสิ่งที่ควรกล่าวถึงได้แก่
1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยกล่าวถึงลักษณะของประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยว่าเป็นใครมีจานวนเท่าใดมีลักษณะเป็นอย่างไรการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้นมีวิธีการเลือกมาได้อย่างไรจานวนเท่าใด
2) ตัวแปรในการวิจัยได้แก่ตัวแปรต้นและตัวแปรตามตัวแปรต้นในที่นี้คือตัวแปรจัดกระทาการทดลองหรือการใช้นวัตกรรมและตัวแปรตามคือผลการเรียนรู้อันเป็นผลจากการจัดกระทาการทดลอง
3) เครื่องมือในการวิจัยหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดประเมินผลตัวแปรตามในส่วนนี้ควรกล่าวถึงลักษณะและประเภทของเครื่องมือที่ใช้จานวนของเครื่องมือกระบวนการหรือวิธีการในการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือเช่นในกรณีที่เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ความตรงความเที่ยงความยากง่ายและอำนาจจำแนกของเครื่องมือเป็นต้น
- วิธีดำเนินการวิจัยเนื่องจากเป็นการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนดังนั้นในส่วนนี้ควรเขียนให้สอดคล้องกับกระบวนการของการออกแบบการเรียนการสอนโดยนาเสนอขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ผู้วิจัยควรนาเสนอขอบเขตของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการวิเคราะห์เช่นการวิเคราะห์หลักสูตรการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของชุมชนเป็นต้นการนาเสนอวิธีการในการวิเคราะห์และเครื่องมือที่ใช้ตลอดจนกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญหรือแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์
ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาเป็นขั้นที่ผู้วิจัยนาเสนอกระบวนการดาเนินการพัฒนาได้แก่การวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้การกำหนดและออกแบบสาระการเรียนรู้การกำหนดขั้นตอนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนการออกแบบและคัดเลือกสื่อการเรียนรู้การกำหนดวิธีการประเมินผลผู้เรียนเป็นต้นในองค์ประกอบการเรียนการสอนดังกล่าวมีวิธีดาเนินการให้ได้มาอย่างไรและมีกระบวนการที่จะตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เรียนอย่างไร
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินเป็นขั้นของการทดลองใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่ม
ตัวอย่างประชากรเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งเป็นการประเมินความก้าวหน้าเพื่อนาผลมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมก่อนนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรเพื่อประเมินผลสรุปโดยการวัดผลการเรียนรู้หลังเรียนการวัดความพึงพอใจของผู้เรียนความคิดเห็นของผู้ใช้นวัตกรรมและการสังเกตการใช้นวัตกรรมเพื่อนาข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจว่านวัตกรรมที่ออกแบบนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ในขั้นนี้ผู้วิจัยควรจะได้กล่าวถึงประเด็นที่สำคัญดังนี้
1) การประเมินนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกนั้นมีกระบวนการในการ
ดาเนินการอย่างไรการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญมีเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรประเมินนวัตกรรมด้านใดใช้เกณฑ์ในการประเมินอย่างไรเป็นต้น
2) กระบวนการทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยการทดสอบจากผู้เรียนนั้นทำอย่างไรเช่นการทดสอบแบบเดี่ยวแบบกลุ่มย่อยแบบกลุ่มใหญ่หรือภาคสนามทาอย่างไรใช้เกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร
3) แบบการวิจัยทดลองที่ใช้เป็นแผนงานในการทดลองและรวบรวมข้อมูลการวิจัย
ในขั้นประเมินผลรวมนั้นเป็นแบบใด
4) การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สถิติกับข้อมูลที่รวบรวมแต่ละประเภทเป็นอย่างไร
ใช้เกณฑ์ในการวิเคราะห์อย่างไรและแปลผลการวิเคราะห์อย่างไร
- ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัยควรนาเสนอเป็นแผนผังควบคุมงาน (gantt chart)แสดงขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยและระยะเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อใช้เป็นแผนงานสาหรับควบคุมการทางานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
- ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยในส่วนนี้ต้องระบุให้ชัดเจนว่างานวิจัยนี้จะได้ประโยชน์อะไรเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าควรอนุมัติให้ทาหรือไม่อย่างไรเช่นการแก้ปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการได้ข้อความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนการเขียนในส่วนของประโยชน์ของการวิจัยนี้จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ควรเขียนในลักษณะที่จะก่อให้เกิดประโยชน์และผลกระทบเมื่อนาผลการวิจัยไปใช้เป็นต้น
- งบประมาณที่ใช้ในการวิจัยสาหรับการเสนอโครงการวิจัยให้กับแหล่งผู้สนับสนุนทุนในการดำเนินการวิจัยนั้นส่วนนี้นับว่ามีความสำคัญควรศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าแหล่งผู้สนับสนุนนั้นจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายไว้อย่างไรและมีหลักเกณฑ์สาหรับการเบิกจ่ายในแต่ละหมวดอย่างไรเพื่อจะได้ทาให้ถูกต้องตามความต้องการของแหล่งทุนที่สนับสนุน
10) คณะผู้วิจัยควรระบุรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวของผู้วิจัยได้แก่ชื่อสกุลตำแหน่งสถานที่ปฏิบัติงานสถานที่ติดต่อคุณวุฒิและประสบการณ์ของผู้ทาวิจัยให้ชัดเจนตามแบบฟอร์มที่แจ้งไว้
ประเด็นการวิจัยทั้ง 10 ข้อนี้จะทาให้เห็นภาพงานของการวิจัยชัดเจนแต่จะต้องเขียนทั้ง 10หัวข้อนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับแบบฟอร์มของหน่วยงานที่ต้องการโครงร่างการวิจัยเป็นผู้กำหนด