•ผู้วิจัยต้องอ่านเอกสารที่ตนจะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงก่อนเสมอ
•ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เช่น เว็บไซต์ หนังสือ ตำราเป็นต้น ควรอ้างอิงจากเอกสารที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ
•ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากเกินไปจนพร่ำเพรื่อ
•ไม่ควรนำบทคัดย่อมาเป็นเอกสารอ้างอิง
•การอ้างอิงที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์แต่ได้ตอบรับการตีพิมพ์ควรระบุไว้ว่าเป็น “in press”หรือ “forthcoming
- การอ้างอิงเอกสารที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์แต่ได้ส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์หรือการอ้างอิงข้อมูลที่ไม่เคยส่งตีพิมพ์ ควรระบุว่าเป็น “unpublished data” หรือ “unpublished observations” และควรได้รับคำยินยอมจากเจ้าของเป็นลายลักษณ์อักษร
-เมื่อทำการทวนความ (paraphrase) หรือย่อความ (summarize) มาจากบทความอื่นไม่ว่าจะเป็นบทความของตนเองหรือบทความของผู้อื่น นักวิจัยควรที่จะอ้างอิงเอกสารต้นฉบับนั้นไว้ด้วย
•ไม่ควรใช้บทความที่ถูกถอดถอนออกไปแล้วมาเป็นเอกสารอ้างอิง
•ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
แนวทางการเขียน
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. สถานที่พิมพ์: สานักพิมพ์.
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา(ระดับ) ชื่อสาขาวิชาสาขาวิชามหาวิทยาลัย.
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่พิมพ์(ฉบับที่), เลขหน้าบทความ.
ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อวันเดือน, ปี, จากชื่อเว็บไซต์: URL