1. วางแผนการทำงานวิจัย จัดสัดส่วนของเวลาให้เหมาะสม
- ชีวิตครอบครัว
- สังคม
- ส่วนตัว
- การศึกษา
- การงาน
สัดส่วนของมนุษย์ 5 ส่วน แบ่งหรือให้น้ำหนักไม่เท่ากันหรือไม่คงที่ แล้วแต่สถานการณ์หรือการให้ความสำคัญ
สร้างทัศนคติที่ดีให้กับตนเอง ภาคภูมิใจที่ได้เรียน ได้ทำวิจัย มองเห็นเป็นความท้าทาย สนุก ได้เรียนรู้มากมาย
2. อ่านหนังสือ วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราสนใจให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ อ่านติดตามฉบับใหม่ ๆ ด้วย โดยไม่ปิดกั้นการอ่านเพิ่มเติมในเรื่องที่เป็นร่มคันใหญ่ คือ แนวคิด ทฤษฏีหลัก ๆ ด้วย ต้องอ่านทุกวันจนเป็นนิสัยถาวร
3. อ่านแล้วต้องทำกรอบในการเขียน ว่าจะเริ่มต้นอะไร อย่างไร หรือทำผังความคิดไว้ (Mind map) ทักษะการเขียนต้องฝึกฝนทุกวัน โดยการอ่านมาก ๆ ดูตัวอย่างการเขียนที่ดี เพื่อให้ได้ตัวอย่าง และอ่านการเขียนที่ไม่สละสลวยเพื่อจะได้ตระหนัก จะเขียนใส่กระดาษหรือพิมพ์ในคอมฯ เลย
เหนื่อยก็พัก แล้วเริ่มใหม่
4. กำหนดระยะเวลา Dead line ไว้ให้กับตนเอง ว่างานนี้ควรเสร็จเมื่อไร เพื่อการตรวจทาน แก้ไข
โปรดอย่าเอาเวลาของหลักสูตรมากำหนด (โปรดสงสารหรือเกรงใจผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการอ่าน)
5. ขณะทำโปรดตระหนักสิ่งที่ได้เรียนรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ ทักษะการอ่าน การเขียน กระบวนการทำงาน กระบวนการวางแผน
6. ผลการศึกษาควรตอบคำถามในการวิจัยได้อย่างครอบคลุม
7. การพิมพ์ โครงสร้างการพิมพ์ การสะกดคำต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนความมีคุณภาพของงาน
ขอให้คนอ่านเพื่อพิจารณาภาพรวมของการเขียน ขอให้คนอ่านเพื่อตรวจหาคำที่สะกดผิด หรือพิมพ์ผิด
8. ประสานกับผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ
9. ฝึกทักษะการนำเสนอด้วยปากเปล่า & Power point
ทำอย่างไรให้พูดได้อย่างมีศิลปะการพูด พูดตรงประเด็น ภายในเวลาที่จำกัด สื่อประกอบก็ต้องมีคุณภาพ