5 เทคนิคการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์
ในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ หลังจากที่นิสิต นักศึกษาตกลงใจที่จะทำเรื่องใด อย่างแน่นอนแล้ว จะต้องจัดทำเค้าโครงวิทยานิพนธ์เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ และจทำเรื่องนั้นได้ก็ต่อเมื่อผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาเค้าโครง หรือคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์แล้ว กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติก่อนการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์ได้แก่ 1.การทำแผนปฏิบัติงานวิทยานิพนธ์ 2.การตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง 3.การทำแผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งหมาย สมติฐานในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ และงานวิจัยที่ผ่านมาที่พบผลสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน 4.การจำลองลักษณะของการเสนอผลการวิจัย และ 5.การตรวจสอบความพร้อมในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ดังกล่าวในรายละเอียดไปตามลำดับ
- สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis)
- สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis) เป็นข้อความที่ารเขียนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัว ขึ้นไป ซึ่งผู้วิจัยสงสัยหรือคาดการณ์ว่าจะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ซึ่งอาจจะตรงกับข้อค้นพบของการวิจัยอื่นหรือไม่ก็ได้ สมมติสมมติฐานนี้เขียนโดยอาศัยแนวความคิด ทฤษฎี หรือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยที่นักวิจัยต้องการศึกษา
สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนโดยใช้สัญลักษณ์ทางสถิติแทนข้อความที่เขียนเต็มๆในสมมติฐานทางวิจัย สมมติฐานทางสถิติจะเป็นการคาดคะเนเกี่ยวกับประชากร เพราะฉะนั้นการเขียนสมมติฐาน จะต้อง ใช้ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) แทนค่าประชากร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำเอาสมมติฐานทางวิจัยมาดำเนินการทางปฏิบัติ ด้วยวิธีการทดสอบทางสถิติและเขียนสัญลักษณ์สั้นๆ ซึ่งสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจตรงกันในทางวิชาการทางสถิติและวิจัย