สำรวจผลกระทบหลังโควิด-19 จุดเปลี่ยนการศึกษาโลก

สำรวจผลกระทบหลังโควิด-19 จุดเปลี่ยนการศึกษาโลก
รอบปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบวงกว้างในหลายมิติทั่วโลก รวมทั้งผลกระทบต่อแวดวงการศึกษาในหลายแง่มุม
ตั้งแต่การปิดเรียน ปรับมาใช้การสอนผ่านกลไกต่าง ๆ ตลอดจนปัญหาทางเศรษฐกิจที่ตามมาที่ทำให้เด็กหลายคนต้องออกจากโรงเรียน ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาถ่างเพิ่มมากขึ้น
แต่อีกด้าน โควิด-19 กลายเป็นแรงผลักดันบังคับให้เกิดการปรับตัวและนำมาซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบการศึกษาใหม่ๆ ที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยรูปแบบที่แตกต่างกลายเป็นโมเดลใหม่ ๆ ที่สอดรับกับบริบทของแต่ละพื้นที่ทั่วโลก
ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ใช้โอกาสช่วงสิ้นปีประเมินสถานการณ์การศึกษาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงต่อแวดวงการศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ
การเรียนรู้ที่ลดลง ผลเสียต่ออนาคตการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ผลกระทบจาก โควิด-19 ทำให้ห้องเรียนส่วนใหญ่ต้องถูกปิด แม้จะเปลี่ยนมาทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเรียนในห้องเรียนได้ ทำให้เด็กมีปัญหาทั้งการเรียนที่ต้องหยุดชะงัก ไปจนถึงความไม่พร้อมของผู้ปกครอง การขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การใช้เวลาหน้าจอมากเกินไป ขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน สุดท้ายทำให้เกิดความเครียดทั้งเด็กและครู
“สุดท้ายคือการที่เด็กมีการเรียนรู้ที่ลดลง (Learning Loss) ในสถานการณ์โควิด-19 ช่วงที่เขาต้องอยู่บ้าน หรือขาดการทบทวนบทเรียนเป็นเวลานาน ความรู้ก็อาจจะหายไป นอกจากความรู้ที่หายไปแล้ว ยังอาจส่งผลต่อพื้นฐานความรู้ในด้านสำคัญ ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทุนมนุษย์ในสังคม หลายประเทศก็พยายามแก้ปัญหา โดยการเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆเพิ่มอินเตอร์เน็ต เทรนครูให้รับมือกับการเรียนการสอนแบบระยะไกล”
การศึกษาไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน ผนึกกำลังท้องถิ่นแก้ปัญหาการศึกษาตามบริบทพื้นที่
ดร.ภูมิศรัณย์ มองว่า ข้อดีในช่วงที่ผ่านมาคือการทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนการสอนทางไกลเป็นจำนวนมาก หลายอย่างเราเห็นว่ามีการทำได้ดี หรือมีครูที่สามารถทำได้ เขาได้คิดค้นวิธีการที่ดีๆ หลายอย่าง ทำให้เรารู้ว่าการศึกษาไม่ใช่เกิดขึ้นได้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่เมื่อสถานการณ์จำเป็นก็สามารถเกิดได้ทุกที่ ทั้งทางออนไลน์ หรือทางออฟไลน์ เช่น การส่งหนังสือ อุปกรณ์การเรียน พร้อมคำแนะนำไปให้เด็กในพื้นที่ อย่างครูโรงเรียนบนดอยที่สมัยก่อนต้องขี่ม้าไปสอน ปัจจุบันอาจจะใช้รถโฟร์วีลหรือมอเตอร์ไซต์ หรือครูในเมืองก็มีการใช้รถพุ่มพวงการศึกษาที่มีหนังสืออุปกรณ์ออกไปสอนเด็ก ๆ หรือโครงการต่างๆ เช่น ของบ้านปลาดาวที่มีนวัตกรรมพวกกล่องการเรียนส่งไปให้นักเรียนในช่วง COVID-19 ซึ่งเป็นวิธีการต่าง ๆ ในการช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในช่วงเวลาวิกฤติได้
“ที่สำคัญคือการทำให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้เห็นว่าผู้ปกครองหรือคนที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่นก็มีความใส่ใจต่อประเด็นการศึกษาของลูกหลานและเขาก็หาทางสามารถแก้ปัญหาท้องถิ่นในบริบทของเขาได้ เป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่าสิ่งที่เราสั่งการจากส่วนกลาง เช่น นโยบายการศึกษา แนวปฏิบัติ อาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมกับบริบทเสมอไป การปล่อยให้คนในท้องถิ่นได้คิดเองอาจได้ผลลัพธ์ หรือแนวทางการปัญหาที่คนในเมือง หรือนักการศึกษาจากส่วนกลางคิดไม่ถึง”
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจแนวโน้มเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
นอกจากผลกระทบด้านการเรียนรู้ โควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดย กสศ. พบว่า ยิ่งเด็กยากจนยิ่งได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก ทั้งครอบครัวที่ผู้ปกครองตกงาน ผู้ที่มีรายได้ลดน้อยลง หรือมีภาระพึ่งพิงมากขึ้น ล้วนกระทบต่อการศึกษาของลูกหลาน และทำให้แนวโน้มของความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยมีมากขึ้น เพราะอาจจะทำให้เด็กต้องขาดเรียนมากขึ้นหรือครอบครัวมีรายจ่ายเพื่ออุดหนุนการศึกษาน้อยลง
โควิด-19 กระทบต่อการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ปฐมวัยถึงอุดมศึกษา
โควิด-19 ส่งผลกระทบกับการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่กลุ่มเด็กปฐมวัย ก่อนประถมศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก เนอร์สเซอรี่ เพราะเด็กวัยนี้ไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ ต้องอยู่กับพ่อแม่ ไม่ได้ออกไปเล่นตามวัย พบว่าในช่วง โควิด-19 เด็กเล็กมีการพัฒนาของกล้ามเนื้อที่ลดลง นอกจากนั้นกลุ่มเด็กพิการ หรือเด็กกลุ่มพิเศษที่ต้องการการเรียนการสอนแบบเฉพาะเจาะจง ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของการหลุดออกจากระบบการศึกษา หรือเด็กที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ก็ได้รับผลกระทบจากการออกจากห้องเรียนเช่นกัน สำหรับเด็กโต การเรียนการสอนในวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติการต่างๆ ก็จะได้รับผลกระทบมากกว่าวิชาที่สามารถเรียนได้ในระยะไกล เช่นวิชาคอมพิวเตอร์
สำหรับในส่วนของมหาวิทยาลัยเองก็มีรายได้ลดลง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนที่ขาดรายได้จากนักศึกษาต่างชาติ หรือจากสภาวะเศรษฐกิจที่ผู้ปกครองมีรายได้ลดลง ในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย ซึ่งอาศัยรายได้จำนวนมากจากนักศึกษาต่างชาติหรือนักศึกษาต่างรัฐ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดต้องเรียนทางไกล ทำให้นักศึกษาหลายคนตัดสินใจพักการเรียน
ไว้ก่อน มหาวิทยาลัยหลายแห่งประสบปัญหารายได้ลดลง ทำให้ต้องปิดตัวหรือชะลอการเปิดหลักสูตรเอาไว้ก่อน หรือยกเลิกการรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตในบางสาขา นับเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ผลักดันโมเดลใหม่การศึกษา หลังโควิด-19
ส่วนปัญหาที่เด็กต้องสูญเสียการเรียนไปนั้นหลายประเทศมีแนวทางการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน บางประเทศมีองค์กร NGO ที่จัดติวเตอร์อาสาสมัครไปสอนหนังสือให้กับเด็กในพื้นที่ เพื่อให้เรียนได้ทันในช่วงที่ต้องหยุดเรียน หรือมีการระดมทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อเติมเต็มช่องว่างของทรัพยากร รวมไปถึงการปรับรูปแบบการศึกษาออกนอกกรอบ เช่น การยกเลิกการสอบไล่ปลายปี การยกเลิกระบบการสอบเข้า ระบบการให้เกรด แบบชั่วคราว ในช่วงสถานการณ์โควิดหลายประเทศเริ่มมีการผลักดันเชิงนโยบายในหลาย ๆ เรื่อง เช่น การยกเลิกการสอบแบบมาตรฐาน (standardized test) ต่างๆ ยกเลิกการนำเอาการสอบเหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ประเทศไทยก็มีการถือโอกาสยกเลิกการสอบ O-NET ไปเช่นกัน
โดยฝ่ายที่ต่อต้านการสอบมาตรฐานก็จะถือโอกาสออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนว่าไม่จำเป็นต้องมีการสอบประจำปีเช่นนี้ ดังจะเห็นจากการยกเลิกชั่วคราวก็สามารถทำได้ ในอเมริกามีการพูดถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างเศรษฐฐานะหรือผิวสี ซึ่งสะท้อนออกมาจากการสอบมาตรฐานเช่น SAT, ACT ซึ่งคนจนจะทำคะแนนได้ไม่ดีเพราะไม่มีโอกาสไปเรียนพิเศษ ในช่วงสถานการณ์นี้ก็ทำให้หลายมหาวิทยาลัยยกเลิกการนำผลสอบไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาและอาจจะพิจารณายกเลิกแบบถาวร หรือนโยบายในเรื่องการประเมินผลโรงเรียน การประเมินผลครู ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้วิธีการในแบบเดิม ๆ ได้ ทำให้หลายประเทศต้องพยายามคิดหาแนวทางเชิงนโยบายแบบใหม่ๆ เข้ามา ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าในอดีตก็ได้ ภายใต้สถานการณ์ของ โควิด-19 ทำให้เราได้เห็นโมเดลใหม่ ๆ ทางการศึกษาเกิดขึ้นเยอะ
สำหรับประเทศไทยในช่วงเฟสแรกถือว่าค่อนข้างโชคดีเพราะโควิดระบาดในช่วงปิดเทอมพอดี ซึ่งต่อมามีการเลื่อนเปิดเทอมออกไปสองเดือน ช่วงนั้น นอกจากเรื่องทางการเรียนรู้แล้วเราก็ได้พบว่าเด็กในชนบท เด็กยากจนมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ กสศ. ได้มีโครงการจัดอาหารเลี้ยงน้อง แต่ในการระบาดรอบสองนี้ สมมติว่ามีการประกาศปิดโรงเรียนอีก ทางโรงเรียนก็น่าจะปรับตัวได้ง่ายกว่าครั้งที่แล้วเพราะมีต้นทุนเดิมที่ทำไว้แล้วบ้าง หรือพวกระบบบทเรียนทางไกลต่าง ๆ
แต่สิ่งที่ยังน่าห่วงคือเด็กที่ไม่มีความพร้อมในการเรียนในลักษณะทางไกลที่จะทำให้เขาต้องขาดหายทางวิชาการไป และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะทำให้มีเด็กหลุดนอกระบบการศึกษามากขึ้น ซึ่ง กสศ. ก็คงจะต้องมีแนวทางร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการช่วยเหลือเด็ก ๆ ครูและโรงเรียนในกลุ่มนี้
ตลอดทั้งปี 2563 โดยรวมเราได้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงไปของการศึกษาจากรูปแบบ Conventional Education System ไปสู่ทางเลือกและการปรับตัวใหม่ๆ ทำให้ได้เห็นว่าจริง ๆ แล้ววงการศึกษาสามารถปรับตัวพลิกแพลงได้ในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนมากคือเด็กยากจนด้อยโอกาส ทั้งจากปัญหาทางการเข้าถึง ปัญหาทางเศรษฐกิจ เรายังได้เห็นสถานการณ์วิกฤติด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด ที่เกิดกับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มีเทคโนโลยีที่สูง หากแต่ขาดนโยบายการสนับสนุนทางสังคม (Social Safety Net) ที่ดีพอ เป็นบทเรียนว่าระบบของการสนับสนุนทางสังคมด้านการศึกษา และความมุ่งมั่นของภาครัฐและความร่วมมือจากภาคประชาสังคมต่างๆ เป็นสิ่งที่เราควรจะคาดหวังที่จะไปให้ถึงถ้าหากสังคมไทยต้องการไปให้ถึงความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างแท้จริง
การศึกษาไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน ผนึกกำลังท้องถิ่นแก้ปัญหาการศึกษาตามบริบทพื้นที่
ดร.ภูมิศรัณย์ มองว่า ข้อดีในช่วงที่ผ่านมาคือการทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนการสอนทางไกลเป็นจำนวนมาก หลายอย่างเราเห็นว่ามีการทำได้ดี หรือมีครูที่สามารถทำได้ เขาได้คิดค้นวิธีการที่ดีๆ หลายอย่าง ทำให้เรารู้ว่าการศึกษาไม่ใช่เกิดขึ้นได้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่เมื่อสถานการณ์จำเป็นก็สามารถเกิดได้ทุกที่ ทั้งทางออนไลน์ หรือทางออฟไลน์ เช่น การส่งหนังสือ อุปกรณ์การเรียน พร้อมคำแนะนำไปให้เด็กในพื้นที่ อย่างครูโรงเรียนบนดอยที่สมัยก่อนต้องขี่ม้าไปสอน ปัจจุบันอาจจะใช้รถโฟร์วีลหรือมอเตอร์ไซต์ หรือครูในเมืองก็มีการใช้รถพุ่มพวงการศึกษาที่มีหนังสืออุปกรณ์ออกไปสอนเด็ก ๆ หรือโครงการต่างๆ เช่น ของบ้านปลาดาวที่มีนวัตกรรมพวกกล่องการเรียนส่งไปให้นักเรียนในช่วง COVID-19 ซึ่งเป็นวิธีการต่าง ๆ ในการช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในช่วงเวลาวิกฤติได้
“ที่สำคัญคือการทำให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้เห็นว่าผู้ปกครองหรือคนที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่นก็มีความใส่ใจต่อประเด็นการศึกษาของลูกหลานและเขาก็หาทางสามารถแก้ปัญหาท้องถิ่นในบริบทของเขาได้ เป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่าสิ่งที่เราสั่งการจากส่วนกลาง เช่น นโยบายการศึกษา แนวปฏิบัติ อาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมกับบริบทเสมอไป การปล่อยให้คนในท้องถิ่นได้คิดเองอาจได้ผลลัพธ์ หรือแนวทางการปัญหาที่คนในเมือง หรือนักการศึกษาจากส่วนกลางคิดไม่ถึง”
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจแนวโน้มเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
นอกจากผลกระทบด้านการเรียนรู้ โควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดย กสศ. พบว่า ยิ่งเด็กยากจนยิ่งได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก ทั้งครอบครัวที่ผู้ปกครองตกงาน ผู้ที่มีรายได้ลดน้อยลง หรือมีภาระพึ่งพิงมากขึ้น ล้วนกระทบต่อการศึกษาของลูกหลาน และทำให้แนวโน้มของความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยมีมากขึ้น เพราะอาจจะทำให้เด็กต้องขาดเรียนมากขึ้นหรือครอบครัวมีรายจ่ายเพื่ออุดหนุนการศึกษาน้อยลง
โควิด-19 กระทบต่อการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ปฐมวัยถึงอุดมศึกษา
โควิด-19 ส่งผลกระทบกับการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่กลุ่มเด็กปฐมวัย ก่อนประถมศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก เนอร์สเซอรี่ เพราะเด็กวัยนี้ไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ ต้องอยู่กับพ่อแม่ ไม่ได้ออกไปเล่นตามวัย พบว่าในช่วง โควิด-19 เด็กเล็กมีการพัฒนาของกล้ามเนื้อที่ลดลง นอกจากนั้นกลุ่มเด็กพิการ หรือเด็กกลุ่มพิเศษที่ต้องการการเรียนการสอนแบบเฉพาะเจาะจง ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของการหลุดออกจากระบบการศึกษา หรือเด็กที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ก็ได้รับผลกระทบจากการออกจากห้องเรียนเช่นกัน สำหรับเด็กโต การเรียนการสอนในวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติการต่างๆ ก็จะได้รับผลกระทบมากกว่าวิชาที่สามารถเรียนได้ในระยะไกล เช่นวิชาคอมพิวเตอร์
สำหรับในส่วนของมหาวิทยาลัยเองก็มีรายได้ลดลง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนที่ขาดรายได้จากนักศึกษาต่างชาติ หรือจากสภาวะเศรษฐกิจที่ผู้ปกครองมีรายได้ลดลง ในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย ซึ่งอาศัยรายได้จำนวนมากจากนักศึกษาต่างชาติหร

You might also enjoy

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและพนักงาน บริษัท รีเสิร์ซเชอร์

หยุดยาวนี้ ไม่ต้องปวดหัว!
หยุดยาวนี้ ไม่ต้องปวดหัว!

มีใครกังวลกับงานของตัวเองในช่วงวันหยุดยาวนี้บ้างคะ? มีแพลนเที่ยวกับครอบครัว มีธุระต้องทำ แต่ก็ติดปัญหา ทำงานไม่ทัน ไม่มีเวลา ไปต่อไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเล่มวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ

หยุดยาวไหน ๆ ก็เที่ยวแบบสบายใจ แค่ฝากงานไว้กับเรา!
หยุดยาวไหน ๆ ก็เที่ยวแบบสบายใจ แค่ฝากงานไว้กับเรา!

หมดกังวลกับงานที่ต้องจัดการในช่วงวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าระดับป. ตรี โท เอก พนักงาน รวมถึงองค์กร เตรียมตัวไปพักผ่อนอย่างมีความสุขดีกว่าไหมคะ สอบถาม/ประเมินราคา แอดและทักไลน์ของเราเลย

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย