ถอดรหัสโควิด ระลอก3 สารพัดปัญหาเรียนออนไลน์

ถอดรหัสโควิด ระลอก3 สารพัดปัญหาเรียนออนไลน์
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ต่อเนื่องระลอก 2 และระลอก 3 ตั้งแต่ต้นปี 2564 เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง รวมถึงภาคการศึกษาที่ต้องปรับตัว จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งแน่นอนว่าทุกความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดปัญหา เสียงสะท้อนสารพัดปัญหาการเรียนออนไลน์ของนักเรียนมีจำนวนมาก ทั้งหลักสูตรที่ต้องปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ปัญหาความไม่พร้อมด้านอุปกรณ์ ทั้ง คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้นักเรียนบางส่วนได้รับความรู้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร..
มาถึงการระบาดระลอก 3 ล่าสุดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน จากเดิมมีกำหนดเปิดเรียนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะเดียวกันเลื่อนสอบรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ม.4 ออกไปด้วย พร้อมให้แต่ละพื้นที่ประเมินสถานการณ์ เพื่อจัดหารูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับบริบท โดยการเรียนออนไลน์ยังเป็นตัวเลือกหลัก ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาช่วงวิกฤตนี้อีกรอบ
เมื่อเลือกไม่ได้ ด้วยภาวะจำยอม หลากเสียงสะท้อน กับการเรียนออนไลน์ ทั้งข้อดี ข้อเสียและสิ่งที่อยากให้เร่งปรับปรุงแก้ไขถึง ศธ.
น.ส.ธญานี เจริญกูล นักเรียนชั้น ม.4 บอกชัดว่า ปัญหาสำคัญที่พบจากการเรียนออนไลน์ คือเรื่องประสิทธิภาพของการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียนและครู ที่ลดลงค่อนข้างมาก ทั้งบรรยากาศ ที่ไม่ส่งเสริมกับการเรียนรู้ เด็กบางคนไม่มีห้องส่วนตัว ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน รวมถึงสื่อการสอนและวิธีการสอนของครูที่ยังปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยี ส่งผลให้นักเรียนได้รับความรู้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร
ประสิทธิภาพของการเรียนออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ระลอกแรกนั้น มีเพียง 20% เพราะแทบจะไม่ได้อะไรจากการเรียนออนไลน์เลย ตรงนี้เข้าใจได้ เพราะทุกคนเป็นมือใหม่และไม่คุ้นเคยกับการเรียนออนไลน์ ส่วนระลอกที่ 2 หลายคนคาดหวังว่า ศธ. อาจจะมีนโยบายและมาตรการในการรับมือที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะยังคงออกนโยบายที่เป็นเหมือนการผลักภาระให้โรงเรียน ครูและนักเรียนเช่นเดิม จึงทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนออนไลน์มีเพียง 40% เนื่องจากโรงเรียน และครู ไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากทางภาครัฐ ทั้งด้านอุปกรณ์หรือโปรแกรมต่างๆ สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ รวมถึงนักเรียนหลายคนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนและอินเตอร์เน็ต หรือปัญหาไฟฟ้าเข้าไม่ถึงในบางพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ ทำให้เด็กจำนวนไม่น้อยขาดโอกาสเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำมากขึ้นขึ้น และหลายคนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาโดยไม่ตั้งใจ น.ส.ธญานีกล่าว
น.ส.ธญานี บอกด้วยว่า ระลอก 3 นี้ ศธ.ควรมีการการสร้างความเข้าใจการเรียนการสอนออนไลน์ให้กับครูและผู้ปกครองมากขึ้น เน้นให้ครูใช้โปรแกรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จัดการห้องเรียนได้อย่างเป็นระบบ รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของครูและพัฒนาสื่อการสอนให้เข้ากับการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ควรให้การสนับสนุน วัสดุและอุปกรณ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างคล่องตัว และกระจายทรัพยากรลงไปที่ตัวเด็กให้มากขึ้น
นายวิสิทธิ์ ใจเถิง ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) บอกคล้ายกันว่า ศธ. ควรจัดทำศูนย์รวบรวมการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อให้โรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงข้อมูล หากโรงเรียนใดมีครูที่ชำนาญในรายวิชาใด ก็ให้สอนแล้วแขวนไว้ในสื่อออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนทั้งประเทศสามารถเข้ามาเรียนได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดโอกาส วิธีการนี้จะสามารถทำให้มาตรฐานการเรียนของทั้งประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถือว่าเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส
หัวเรือใหญ่อย่าง นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ทำการวิจัยควบคู่ไปกับการถอดบทเรียนจากการเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งที่ผ่านมา แน่นอนว่าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น จะมีการรับมือด้วยรูปแบบการเรียนออนไลน์ ซึ่งกำหนดไว้ 5 รูปแบบคือ 1.On Site 2.On Air 3.Online 4.On Demand และ 5.On Hand เป็นหลัก รวมถึงจะมีการทดลองด้วยการเรียนผ่านวิทยุเพิ่มเติม เพราะโรงเรียนในบางพื้นที่อาจจะไม่สามารถเรียนผ่านช่องทางออนไลน์และออนแอร์ได้ แต่การเรียนผ่านช่องทางวิทยุนั้นสามารถเรียนได้แค่บางวิชาเท่านั้น ทั้งนี้ สพฐ.พยายามแก้ปัญหาอุดช่องโหว่ เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ในภาวะวิกฤต และไม่กระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอน
ขณะนี้ สพฐ.กำลังเตรียมการสำรวจความพร้อมของนักเรียน ครู และโรงเรียน ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละประเภท เช่น ความพร้อมด้านอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ หากโรงเรียนใดขาดแคลนเรื่องอุปกรณ์ ก็จะต้องหารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาศได้เรียน ซึ่งอาจจะมีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ทาง สพฐ. ยังมีแพลตฟอร์มคลังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ OBEC Content Center ที่รวบรวมบทเรียนต่างๆ ไว้ เพื่อให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง สามารถเข้าไปศึกษาค้นหาความรู้ได้ นายอัมพรกล่าว
ปิดท้ายท้ายที่ นายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) บอกว่า โรงเรียนเอกชนค่อนข้างตื่นตัว และเตรียมพร้อมกับการเรียนออนไลน์มาตลอด โดยทาง สช. ได้ร่วมมือกับกลุ่มสตาร์ตอัพ โรงเรียนและบริษัทต่างๆ ที่ทำการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ สร้างห้องเรียนสำหรับเรียนออนไลน์ฟรี เช่น แพลตฟอร์มการเรียนการสอน School Bright จากบริษัท จับจ่าย คอร์ปอเรชั่น จำกัด, คลังความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ให้นักเรียนสามารถสมัครได้ด้วยการยื่นบัตรประจำตัวประชาชนได้ที่ 7-ELEVEN เพื่อรับซิมการ์ดฟรีสำหรับเข้าใช้ห้องเรียน True Vroom ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเรื่องค่าอินเตอร์เน็ต
ทั้งหมดนี้เปิดให้นักเรียนใช้เรียนออนไลน์ฟรี ผ่านทางเว็บไซต์ สช.(www.opec.go.th) นอกจากนี้ สช. ก็ได้รวบรวมคอนเทนต์ต่างๆ จากทรูปลูกปัญญา มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และโรงเรียนเอกชนต่างๆ เพื่อสร้างเป็นคลังสื่อการสอนออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้น ป.1-ม.6 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้ปูพื้นฐานและเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้
งานนี้คงต้องให้กำลังใจกันหนักๆ เพราะเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก แต่การพัฒนาในทุกอย่างยังต้องขับเคลื่อนต่อไปรวมถึง เรื่องการศึกษา ที่เร่งปรับตัวและถอดบทเรียน สร้างหลักสูตรการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นสามารถปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

You might also enjoy

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและพนักงาน บริษัท รีเสิร์ซเชอร์

หยุดยาวนี้ ไม่ต้องปวดหัว!
หยุดยาวนี้ ไม่ต้องปวดหัว!

มีใครกังวลกับงานของตัวเองในช่วงวันหยุดยาวนี้บ้างคะ? มีแพลนเที่ยวกับครอบครัว มีธุระต้องทำ แต่ก็ติดปัญหา ทำงานไม่ทัน ไม่มีเวลา ไปต่อไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเล่มวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ

หยุดยาวไหน ๆ ก็เที่ยวแบบสบายใจ แค่ฝากงานไว้กับเรา!
หยุดยาวไหน ๆ ก็เที่ยวแบบสบายใจ แค่ฝากงานไว้กับเรา!

หมดกังวลกับงานที่ต้องจัดการในช่วงวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าระดับป. ตรี โท เอก พนักงาน รวมถึงองค์กร เตรียมตัวไปพักผ่อนอย่างมีความสุขดีกว่าไหมคะ สอบถาม/ประเมินราคา แอดและทักไลน์ของเราเลย

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย